กระบวนการฝึกครูคุณภาพพัฒนาท้องถิ่นระยะเข้าสู่วิชาชีพ (Induction Period) รุ่นที่ 2

เรียนรู้ ลงมือทำ เข้าถึงปัญญาอย่างชาญฉลาด

หลักสูตรการพัฒนาครูในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นระยะเข้าสู่วิชาชีพ  (Induction Period) โดย สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์และโรงเรียนรุ่งอรุณ

ครู” อาชีพสำคัญที่ต้องได้รับการ ลับคม ทักษะวิชาชีพ เพิ่มเครื่องมือการจัดการเรียนรู้ที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์และโรงเรียนรุ่งอรุณ มีความเชี่ยวชาญ และให้ความสำคัญ การศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Education) ที่จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เน้นทักษะการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)  เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีเทคนิควิธีกระบวนการที่หลากหลาย เพิ่มศักยภาพครูวิชาชีพให้สามารถทำงานได้อย่างบรรลุเป้าหมายอย่างเป็นมืออาชีพ โดยเฉพาะ ทบบาทครูที่มีประสิทธิภาพเอื้อให้เกิดการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียน ได้ เรียนรู้ผ่านการลงมือทำและเข้าถึงความเป็นจริงของสถานการณ์บนสภาพแวดล้อมท้องถิ่นที่แท้จริง รอบรู้และเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจุบัน

เรียนแบบ “บูรณาการ” ปลดกับดักความคิดแบบเดิม ๆ

เพราะระบบการศึกษาของสังคมไทย คุ้นเคยวิธีการคิดแบบเดิม ๆ คือ การแยกชีวิต ตำราและ การเรียนรู้ ออกจากกัน แต่แท้จริงแล้วการเรียนรู้กับชีวิตเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ว่าจะเรียนรู้อะไร จะเริ่มจากชีวิตก่อนเสมอ  เช่น ความอยู่รอด ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งสนองตอบชีวิตนั้นคือ ปัจจัย 4  ชีวิตที่อยู่รอดได้ด้วยปัจจัย จุดเริ่มต้นของการอยู่รอด เพราะมีชีวิตกับการเรียนรู้ที่ไม่แยกส่วนกัน เห็นได้ว่าการสู้เพื่อการอยู่รอดของชีวิต ของตนเองก่อเกิดจากการลงมือปฏิบัติจริง (Work-Based Learning)บันไดไต่สู่เป็นการสร้างศักยภาพ หรืออาจเรียกได้ว่า Work for Life เรียนรู้เพื่อการชีวิตก็ได้

“แน่นอนว่าการเตรียมการของครูก็เช่นกัน ไม่ควรจะแยกส่วนระหว่างเนื้อหาทางวิชาการออกจากชีวิตห้องเรียน นักเรียน ไม่ควรแยกการเรียนรู้ออกจากชุมชนท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ ยุคนี้ไม่ควรแค่สอนเพียง อ่านออก เขียนได้ เท่านั้น แต่ จะต้อง อ่านออก เขียนได้ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น ตระหนักรู้ มีจิตสำนึก”
ดร.สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์
นักการศึกษาผู้เชี่ยวชาญการจัดการเรียนรู้ปฐมวัย
ผู้อำนวยการหลักสูตรศึกษาศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์​

จะเห็นได้ว่า สถานการณ์ปัจจุบันธรรมชาติกำลังสะท้อนให้เรารู้ว่า คน บริโภคทรัพยากรมากเกินไป จนเกิดภาวะธรรมชาติขาดสมดุลคนในภาคการศึกษา จะต้องมอง ให้รอบรู้ เนื้อหาสาระในการเรียนรู้จะต้องเข้าถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง   

ครูองค์รวมในห้องเรียนใฝ่รู้ (Active Learning)

จะเห็นธรรมชาติบทบาทของครูที่ไม่ใช่ผู้สั่งให้รู้ แต่ครูทำหน้าที่เป็นเพื่อนร่วมเรียนรู้ เป็นผู้ตั้งคำถามชวนคิด ชวนคุย ชวนลงมือทำ สร้างบรรยากาศให้เกิดการสื่อสารความหมาย และแก้ปัญหา สู่การสะท้อนผล ถอดองค์ความรู้ ตลอดจน เป็นการสร้างเครือข่าย  ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community ) เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองประสบการณ์ของแต่ละคนที่ได้สัมผัส เพื่อการแลกเปลี่ยนที่เติมเต็มซึ่งกันและกัน  เพราะคนเรา แต่ละคน ย่อมมีประสบการณ์ ความคิด ความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน ครูทำหน้าที่เ สะกิดประเด็น หากจะพูด แบบ ทฤษฎีการเรียนรู้ของวีก๊อทสกี้ (Vygotsky) เปรียบเทียบได้ว่า  ครูเป็น “นั่งร้าน” วางฐานราก เด็กจะใช้ศักยภาพ ทักษะความสามารถเป็นผู้ปีนขึ้นสู่การเรียนรู้ด้วยตนเอง ไว้ว่าจะเป็นคนที่เรียนรู้เร็วหรือช้า  ก็จะสามารถพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ได้อย่างมีอิสรภาพเท่าเทียมกันทุกคนได้จริงอย่างแท้จริง

  • การฝึกกระบวนการคิดอย่างลึกซึ้งและสะท้อนปัญญาอย่างชาญฉลาด (Wise Reflection)
  • การทำ จริยศิลป์ ตุงใยแมงมุม เพื่อรู้จักสภาวะความรู้สึกนึกคิดของตนเอง
  • การจัดทำแผนการสอน ด้วยระบบคุณค่า (VOC : Value Oriented Curriculum)
  • การเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) บทบาทของครูผู้อำนวยการเรียนรู้ (Facilitator)
    เพื่อให้ผู้เรียนเชื่อมโยงและเข้าถึงความรู้จากการปฏิบัติจริง
  • การสังเกตชั้นเรียน กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
  • กระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC : Professional Learning Community)
  • การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและห้องเรียนธรรมชาติ ส่งเสริมการสร้างสรรค์การจัดการทรัพยากร
    สิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะ การบำบัดน้ำเสีย 
  • ทักษะครูนักออกแบบการสอน ทดลองสอนแบบ จุลภาค (Micro teaching)
  • การรู้จักดูแลสมดุลกายใจด้วยกิจกรรมกีฬาภูมิปัญญาไทย
  • การทำ Core Reflection สานต่อพลังเครือข่ายครูเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
  • การบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Development)