ความเป็นมาแห่ง “สถาบันอาศรมศิลป์”
สถาบันการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมเพื่อรับใช้สังคม
“สถาบันอาศรมศิลป์” เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนขนาดเล็ก ที่ดำเนินงานในรูปแบบของกิจการเพื่อสังคม (SE : Social Enterprise:) ได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนระดับบัณฑิตศึกษาจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตั้งแต่ตุลาคม 2549
ปัจจุบัน สถาบันอาศรมศิลป์ เปิดให้บริการวิชาการ ด้วยการจัดการเรียนรู้ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และหลักสูตรประกาศนียบัตร ใน 3 สาขา ได้แก่ ศึกษาศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ (ผู้ประกอบการสังคม) พร้อมทั้งให้บริการชุมชน ด้วยความเชี่ยวชาญจากศาสตร์ทั้งสามและการบูรณาการข้ามศาสตร์ ร่วมมือกับเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งในและต่างประเทศ โดยดำเนินงานในรูปแบบของโครงการเพื่อร่วมสร้างนวัตกรรมที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม
เจตนารมณ์แรกเริ่มก่อตั้งสถาบันอาศรมศิลป์ มุ่งหวังที่จะให้เป็นโรงเรียนสอน “ครู” จากประสบการณ์การดำเนินงานของโรงเรียนรุ่งอรุณ กว่า 10 ปี จึงเล็งเห็นความสำคัญว่า”ครู” คือผู้นำทาง “ศิษย์” ไปสู่การเรียนรู้ที่ถึงคุณค่าแท้ เป็นที่มาของการเปิดสอนในสาขาศึกษาศาสตร์ พร้อมกับตระหนักว่าการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมย่อมเอื้อต่อการเรียนรู้ สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงถือกำเนิดขึ้น ต่อมาได้เปิดสอน สาขาศิลปศาสตร์ (ผู้ประกอบการสังคม) เพื่อให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ที่ต้องการพัฒนาตนเองให้เป็นมืออาชีพและพึ่งพาตนเองได้ด้วยการดำเนินกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
เรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม
การจัดการเรียนรู้ที่สถาบันอาศรมศิลป์ ใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม (Holistic Learning) เป็นสำคัญ ประกอบด้วยหลักการ 3H ได้แก่
Heart การพัฒนาคุณค่าภายใน (core value)
Head การพัฒนาความรู้ที่จำเป็น (core knowledge) และ
Hand การพัฒนาทักษะที่สำคัญ (core skill)
เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้สูงสุดของมนุษย์ที่เข้าถึงวิชาการและวิชาชีวิต ด้วยการเรียนรู้
บนการงานจริง (Work-Based Learning) ผ่านโครงงานวิจัยและโครงการบริการชุมชนต่างๆ ของสถาบันฯ ภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นมิตรและการเอาใจใส่ดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดจากคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านต่าง ๆ เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนไปสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและร่วมพัฒนาสังคม
วิชาชีพ “ครู” ศึกษาศาสตร์ มีฐานปฏิบัติการเรียนรู้อยู่ที่โรงเรียนรุ่งอรุณ มีห้องเรียนจริงที่มีนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย วิชาชีพ “สถาปนิก” สถาปัตยกรรมศาสตร์ มีฐานปฏิบัติการเรียนรู้อยู่ที่ บริษัท สถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาศรมศิลป์ จำกัด และสตูดิโอสถาปนิกวิชาชีพ ซึ่งทำงานบริการด้านสถาปัตยกรรมที่เชื่อมโยงกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม ให้บริการลูกค้าที่หลากหลาย ตั้งแต่ผู้มีรายได้สูง ปานกลาง จนถึงผู้ไม่มีรายได้ วิชาชีพ “ผู้ประกอบการสังคม” มีฐานการเรียนรู้อยู่ที่เครือข่ายการเรียนรู้ต่างๆ อาทิ กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จ.ชลบุรี ศูนย์การเรียนรู้วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม จ.เชียงใหม่ ศูนย์การเรียนรู้บ้านเรียนละครมรดกใหม่ จ.ปทุมธานี ศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนมีชัยพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ศูนย์การเรียนรู้แพทย์วิถีธรรม จ. ปทุมธานี
รับใช้สังคม
จากการบ่มเพราะความเชี่ยวชาญในศาสตร์ทั้งสาม และการบูรณาการข้ามศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์ให้บริการชุมชน ด้วยการร่วมมือกับเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งในและต่างประเทศ ดำเนินโครงการเพื่อชุมชน โดยใช้งานวิจัยและกระบวนการเรียนรู้ ร่วมสร้างนวัตกรรมที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตัวอย่างโครงการที่ดำเนินงานในปัจจุบัน ได้แก่
- โครงการพัฒนาชุมชนริมน้ำจันทบรู
- โครงการวัดบันดาลใจ เพื่อการพัฒนาให้วัดเป็นพื้นที่สุขภาวะ
- โครงการเมืองเก่าสงขลา เพื่อเสริมสร้างคุณค่าเมืองเก่าสงขลาให้เป็นพื้นที่ต้นแบบของ
การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองมรดกโลกที่ยั่งยืน - โครงการพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
จังหวัดระยอง - โครงการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่พึ่งพาตนเองได้
จากความพยายามในการทำงานดังกล่าว ตัวชี้วัดผลแห่งความสำเร็จ คงมิใช่เพียงรางวัลต่าง ๆ ที่สถาบันฯได้รับ แต่สิ่งสำคัญก็คือ การที่ “คน” ในสังคมลุกขึ้นมาสานต่อความเข้มแข็งของตน ให้เกิดความยั่งยืนด้วยตนเอง สถาบันอาศรมศิลป์จึงจะบรรลุปณิธานแห่งการเป็นสถาบันที่มุ่งการบูรณาการเรียนรู้ในทุกศาสตร์กับการพัฒนาสังคมในศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นองค์รวม อย่างแท้จริง
สัญลักษณ์ของสถาบันคือภาพสะท้อนปรัชญาการศึกษาอันเป็นรากฐานทางความคิดและการปฏิบัติของบุคลากรในสถาบัน สถาบันอาศรมศิลป์ได้รับเกียรติจากท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ออกแบบสัญลักษณ์ซึ่งมีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์กำลังหมุน โดยสัญลักษณ์ดังกล่าวมีความหมาย ดังนี้
คล้ายธรรมจักร : คือดวงใจของการศึกษาไตรปิฎก คือมิ่งขวัญของพุทธธรรม
กงล้อมีการหมุน : หมายถึงปฏิธาณที่เคลื่อนไหวไปสู่การเล็งผลเลิศ ณ สัจธรรมทั้งปวงในสกลจักรวาล
ทักษิณาวรรต : หมายถึง ในระเบียบของฉัพพรรณรังสี การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือมรดกเข้าหาความจริงแท้
แสงโค้ง : ไปประสานกับจักรวาลอื่นๆคือ เสาะแสวงซึ่งความจริงอื่นๆ ในหลายวิถีทางแห่งจักรวาลต่างๆ
สีประจำสถาบัน
สีประจำสถาบันอาศรมศิลป์เป็นสีไทยโบราณที่มีความสอดคล้องกับความเป็น แม่สี ของสีสากล ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการทำงานศิลปะ และเป็นพื้นฐานที่สำคัญของสถาบัน ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาบุคคลผ่านกระบวนการทำงานศิลปะ สีประจำสถาบัน ประกอบด้วย 3 สี ดังต่อไปนี้
สีครั่ง หรือ สีแดง แทนความหมายของ สุนทรียธรรม คือ ความขับเด่นเข้าสู่ความงาม
สีเข หรือ สีเหลือง แทนความหมายของ มงคลธรรม คือ ความอร่ามเหลืองเรืองรองของพระศาสนาที่คุ้มครองชีวิตจิตวิญญาณของผู้คน
สีคราม หรือ สีน้ำเงิน แทนความหมายของ วัฒนธรรม คือ ความหลากหลายที่เชื่อมโยงสังคมด้วยกัน
“อาศรม” หมายถึง สำนัก ที่ทำงาน ที่อยู่ของปราชญ์ผู้รู้
“ศิลป์” หมายถึง ศิลปะ วิทยาการ ดังนั้น
“อาศรมศิลป์” จึงหมายถึง สำนักของปราชญ์ทางศิลปวิทยาการ ซึ่งในสมัยก่อน ลูกศิษย์จะต้องไปฝากตัวเพื่อเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ใช่แต่เพียงตัววิชาความรู้เท่านั้น แต่ศิษย์จะได้มีโอกาสใช้ชีวิตร่วมกับอาจารย์ ได้ซึมซับ “วิถี” การดำเนินชีวิตของอาจารย์ด้วย
การใช้ชีวิตร่วมกันทั้งระหว่างผู้สอนกับผู้สอน ผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน ก่อให้เกิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ นำไปสู่การปรับตัวและเรียนรู้ร่วมกันอย่างกัลยาณมิตร อันเป็นที่มาของโครงสร้าง “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” ของสถาบันอาศรมศิลป์ ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรผู้ชำนาญการในศาสตร์สาขาต่างๆ ที่จะทำงานร่วมกันในลักษณะสหสาขาวิชาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน อีกทั้งเป็นการขยายโลกทัศน์ขอบเขตความรู้และความเข้าใจของตนที่มีต่อการปฏิบัติงานให้กว้างขวางและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
มงคลธรรม
เรียนรู้ที่จะรู้จักตนเอง ด้วยการฝึกปฏิบัติบนการทำงาน มุ่งหมายใจไปสู่การเรียนรู้ที่ฝึกฝนการขัดเกลาจิตใจตนเองเพื่อไปสู่การพัฒนาปัญญา โดยมีพื้นที่กิจกรรมเชิงการปฏิบัติการทางจิตใจ ด้วยวิถีการปฏิบัติภาวนา สวดมนต์ ประจำทุกวันศุกร์
สุนทรียธรรม
สัมผัสความงามทั้งกายและใจด้วยความเบิกบาน บนกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะ จริยศิลป์ การปั้นดิน การทำตุง การเขียนภาพลายเส้นแบบสัมผัส Contour วาดเส้นสัมผัสใจ ทำงานศิลปะไปพร้อมกับการเจริญภาวนา รู้จักภาวะจิตใจตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้เท่าทันกุศลและอกุศลใจอย่างละเอียดประณีต โดยเรียนรู้ผ่านศิลปะและประสบการณ์ตรง รวมทั้งยังเป็นการปรับสมดุลของฐานกาย ฐานความคิดและฐานจิตใจ ให้เกิดความสัมพันธ์กันจนเกิดเป็นปกติ
วัฒนธรรม
อยู่อย่างเป็นชุมชนการเรียนรู้ พี่น้องและผองเพื่อน อย่างเป็นกัลยาณมิตร ให้การร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมคิด ร่วมลงมือทำงาน ด้วยความพร้อมเพรียง รับรู้ รับฟัง จากบุคคลและสิ่งต่างๆ รอบตัว ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ เรียนรู้ผ่านกันและกันด้วยใจที่ใคร่ครวญ สร้างความเข้มแข็งเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันจนเป็นวิถี
วิสัยทัศน์
อาศรมศิลป์ สถาบันการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม เพื่อรับใช้สังคม
Arsom Silp Institute of Holistic Learning for Human Development and Sustainable Society
ปณิธาน
เป็นสถาบันที่มุ่งบูรณาการการเรียนรู้ในทุกศาสตร์กับการพัฒนาสังคมแห่ศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นองค์รวม
พันธกิจ
1. สร้างจุดเน้นการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการงานบริการวิชาการ งานวิจัย และงานจัดการเรียนการสอน เพื่อรับใช้สังคม
2. จัดตั้ง Holistic Learning Center เพื่อเป็นกลไกใหม่ในการบูรณาการ การให้บริการวิชาการการวิจัย การพัฒนาเครือข่าย ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งสร้างรายได้
3. ใช้สื่อสร้างสรรค์หลากหลายช่องทาง เพื่อเผยแพร่และขยายผลการเรียนรู้
4. ส่งเสริมวิถีวัฒนธรรมร่วมสมัย โดยรักษารากฐานภูมิปัญญาไทย
ยุทธศาสตร์องค์กร
สถาบันการศึกษาแบบองค์รวม (Holistic Learning) ของประเทศ ที่ทัดเทียมในระดับสากล
กลยุทธ์ที่ 1
การพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร
สู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Holistic PLC)
กลยุทธ์ที่ 2
การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการอบรม ด้านการเรียนรู้แบบองค์รวม (Holistic Learning and Training Center)
กลยุทธ์ที่ 3
การเป็นองค์กรเพื่อสังคม (Social Entrepreneur) ที่มีระบบการบริหารธุรกิจเพื่อให้เกิดความมั่นคงยั่งยืนแก่สถาบัน
กลยุทธ์ที่ 4
การผลิตบัณฑิตที่มีทักษะ
การเรียนรู้แบบองค์รวม
เพื่อสร้างสรรค์สังคม
นายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์
คณะกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย
(รักษาการนายกสภาสถาบัน)
อาจารย์พารณ
อิศรเสนา ณ อยุธยา
ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ
อาจารย์มีชัย วีระไวทยะ
อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร
นายแพทย์ประพจน์ เภตรากาศ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ
ทัชชัย ฤกษะสุต
นายอธิป พีชานนท์
ศาสตราจารย์กิตติคุณ
บัณฑิต จุลาสัย
รองศาสตราจารย์
ประภาภัทร นิยม
ดร.สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์
รองศาสตราจารย์
ดร.ดุษฎี ทายตะคุ
ที่ปรึกษาคณะกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ
พระไพศาล วิสาโล
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
อรศิริ ปาณินท์
อาจารย์บันเทิง ตันติวิท
คุณหญิงกษมา
วรวรรณ ณ อยุธยา
อาจารย์ธีรพล นิยม
อาจารย์แก่นคำกล้า
พิลาน้อย
ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ
ศาสตราจารย์วิริยะ
นามศิริพงศ์พันธุ์
นายแพทย์ยงยุทธ
วงศ์ภิรมย์ศานติ์
รองศาสตราจารย์
ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร
สภาวิชาการสถาบัน
รองศาสตราจารย์
ดร.กรรณิการ์ สัจกุล
ศาสตราจารย์กิตติคุณ
สุมน อมรวิวัฒน์
รองศาสตราจารย์
ดร.สุจิตรา สุคนธทรัพย์
รองศาสตราจารย์
ศรีศักร วัลลิโภดม
ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข
(ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
จุไรรัตน์ สุดรุ่ง
(ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก)
ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ
อาจารย์ขวัญสรวง อติโพธิ
รองศาสตราจารย์
ประภาภัทร นิยม
ดร.ภัทร ยืนยง
รองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม
อาจารย์ธีรพล นิยม
ดร.สุจินดา
ขจรรุ่งศิลป์
และวิจัย
รองศาสตราจารย์ ร.อ.
ชูวิทย์ สุจฉายา ร.น.
อาจารย์ธีรกุล นิยม
ฝ่ายการต่างประเทศ
อาจารย์ประยงค์
โพธิ์ศรีประเสริฐ
สำนักสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข
อาจารย์เอื้อมพร ลอยประดิษฐ์
อาจารย์อาบอำไพ รัตนภาณุ
วีดิทัศน์แนะนำสถาบัน
ปรับปรุง 07/09/2560