สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับ สาขาวิชาทางศึกศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์ ในฐานะ U_School Mentoring ให้การฝึกอบรมครูพัฒนาท้องถิ่น จาก 50 เขตกรุงเทพฯ ประจำปี 2562 ด้วย หลักสูตรการพัฒนาครู ในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นระยะเข้าสู่วิชาชีพ (Induction Period) ยกระดับคุณภาพวิชาชีพ พลัง“ครู” หนุ่มสาว ให้ทำงานวิชาชีพอย่างเข้มข้นถึงคุณค่า เน้นการจัดการศึกษาแบบใหม่เชื่อมโยงมิติชุมชนสังคม รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 (เมื่อวันที่ 29 – 30 มิถุนายน 2562)
ดร.สุภัทร จำปาทอง อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนโครงการครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น อย่างต่อเนื่องเพื่อเลือกเฟ้นครูผู้ร่วมโครงการจริงๆ อย่างน้อยประมาณ 10 ปี แต่คุ้มค่ากับการรอคอย เพราะเมื่อถึงวันนั้นเมื่อข้าราชการครูเก่าที่เกษียณไป เราจะได้ครูที่มีความพร้อม มีคุณภาพอย่างสมบูรณ์แบบ หรือครูสายพันธุ์ใหม่ในอนาคต
โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปัจจุบันเป็น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ได้กำหนดกรอบการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้สถาบันพัฒนาครูนำไปเป็นแนวทางการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับความร่วมมือจาก สาขาวิชาทางศึกษาศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถาบันที่มีความสามารถและความพร้อมที่จะเป็นสถาบันพัฒนาครูระยะเข้าสู่วิชาชีพ พัฒนาท้องถิ่น (Induction Period) ในฐานนะเครือข่ายความร่วมมือกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาคนวิชาชีพครูเตรียมคนให้พร้อมกับอนาคต
ดร.สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ ผู้อำนวยการหลักสูตรศึกษาศาสตร์ รองอธิการบดีสถาบันอาศรมศิลป์ ผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ จำลองชีวิตครูเพื่อสัมผัสการเป็นผู้เรียนอีกครั้ง ผ่าน กิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ “กิน เที่ยว เรียนรู้แบบบูรณาการ เชื่อมโยงสู่สาระ มาตรฐานตัวชี้วัด”
สร้างจุดเปลี่ยนการเรียนรู้นอกห้องเรียน
กระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการ จุดเปลี่ยนการเรียนรู้สร้างเด็ก 4.0 ผ่านการยกระดับจิตวิญญาณ ครู ด้วยกระบวนการเติมเต็มคุณลักษณะของครูที่มีความเข้าใจในมิติด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของท้องถิ่น มีความรัก ความผูกพันในสถานศึกษาและชุมชน มีแรงบันดาลใจในการเป็นครูมืออาชีพที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 เชื่อมโยงมิติชุมชนสังคม ร่วมกันมุ่งมั่นสร้างการเรียนรู้ที่มีความหมาย เท่าทันการเปลี่ยนแปลง นำการเรียนรู้เพื่อยกระดับสังคมดีขึ้นด้วยพลังคน เลือกพื้นที่การเรียนรู้ Learning Space ณ วัดอรุณราชวราราม และชุมชนวังเดิมบริเวณโดยรอบวัด เพื่อเปิดการเรียนรู้ให้กับครูได้สามารถเชื่อมโยงพื้นที่การเรียนรู้เชิงสังคม ด้วยการแบ่งการเรียนรู้ภาคสนาม การออกแบบ Workshop การจัดการความรู้ KM กิจกรรมการเรียนรู้ เช่น กิจกรรม “จริยศิลป์” ลอกลายครูเรียนรู้ความเป็นไทย , กิจกรรมแผนที่คนดี (People Mapping) ซึ่ง “จริยศิลป์ เป็นชุดวิชาเพื่อการพัฒนาภาวะภายในเพื่อให้ครูได้สัมผัสตัวตนของตนเองที่ซ่อนอยู่ ผ่านงานศิลปะลอกลายครูจิตรกรรมผนังโบสถ์ โดยมี อาจารย์ผ่อง เซ่งกิ่ง ศิลปินชั้นครูด้านจิตรกรรมไทย นำบรรยายและจัดกระบวนการเรียนรู้ อีกทั้งยัง สร้างการเรียนรู้ที่จะพาให้ครูได้ฝึกมองเห็นความดีของมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นคนเล็กคนน้อยที่สังคมเคยมองข้าม ผ่านการฝึกฝนทักษะการฟัง อย่างลึกซึ้ง การจับประเด็นและบันทึกคุณค่าความดี การเรียนรู้แบบกลุ่ม และการสร้างสื่อสาธารณะอย่างเหมาะสม กับคนในพื้นที่ชุมชนวังเดิม ผ่านกิจกรรมแผนที่คนดี (People Mapping)
นอกจากนี้ยังฝึกทักษะผ่านการทดลองจริงเพื่อสร้างความเข้าใจอย่างเป็นระบบ ด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Learning Design) เชื่อมโยงสู่สาระ มาตรฐานตัวชี้วัด ออกแบบแผนการเรียนรู้บูรณาการกับสาระวิชาที่ตนเองสอน วิเคราะห์ และนำเสนอ เพื่อการแลกเปลี่ยนร่วมกันในวันที่สองของการฝึกอบรม
ผู้อำนวยการหลักสูตรศึกษาศาสตร์ สถาบันอาศรมศิลป์