ใจดีสู้ COVID-19

ในสถานการณ์​covid​ เราได้สอบถามสถานการณ์​กับเครือข่ายชุมชน​ที่เราร่วมงานด้วย​ พบข้อค้นพบที่น่าสนใจ…

ชุมชนที่เป็นแรงงานภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบยังแต่ยังไม่รุนแรงมาก​ แต่ชาวชุมชนที่อยู่ในภาคบริการได้รับผลกระทบอย่างหนัก​ ทั้งกลุ่มแรงงานในโรงแรม​ ร้านอาหาร​ ไปจนถึงคนขับแท็กซี่​ รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อยแผงลอยต่างๆที่ขาดรายได้เพื่อการยังชีพอย่างรุนแรง…
ชุมชนภาคเกษตร​ และภาคประมง​ ได้รับผลกระทบแต่ยังมีฐานการผลิตรองรับที่ทำให้ยังพึ่ง​พาตนเองได้​ แต่สถานการณ์​การล็อคดาวน์ปิดตลาดต่างๆ​ ส่งผลให้ขาดสภาพคล่อง​ ต้องนำเงินเก็บ​มาใช้จ่าย​ และหากสถานการณ์​ดำเนินต่อไปอีกไม่เกิน2เดือน​ จะกลายเป็นความเดือดร้อนอย่างมากเช่นกัน…

เพื่อคลี่คลายสถาน​การณ์​ดังกล่าว​ เราจึงริเริ่มตั้งกองทุนขึ้น​ โดยการซื้อสินค้าข้าวสารอาหารแห้งจากชุมชนในเครือข่ายเราที่ขาดช่องทางจำหน่าย​ เช่น​ ​ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์​จากสระบุรี​ อาหารทะเลแห้งจากหาดเจ้าสำราญ ไข่เค็ม​จากตลิ่งชัน… เพื่อนำไปสนับสนุน​ให้กับกลุ่ม​ชุมชนที่มีความต้องการจำเป็น​ เพื่อมอบให้กลุ่มผู้ที่เดือดร้อนในชุมชน​ รวมถึงสนับสนุนการปรับตัวของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงในระยะกลางและระยะยาวต่อไป

ในสถานการณ์​โควิด​ เราจะไม่ถูกขวิด...
เราจะเรียนรู้​และผ่านพ้นมันไปด้วยกัน​ อย่างมีสติ

ขอเชิญร่วมบริจาคเงิน
สมทบทุนซื้อข้าวสารอาหารแห้งจากชุมชนที่ประสบปัญหาไม่มีพื้นที่ขายสินค้า เพื่อบริจาคให้ชุมชนที่เดือดร้อน
ขาดรายได้ในการดูแลครอบครัวและผู้สูงอายุ เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 จำนวน11 ชุมชนกว่า 800 ครัวเรือน
รวมถึงอุปกรณ์การแพทย์ให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลน

โดยสามารถสนับสนุน
-ข้าวสารอาหารแห้ง 500 บาท/ครัวเรือน
-Aerosol Box กล่องป้องกันเชื้อ COVID ฟุ้งกระจาย เพื่อป้องกันเชื้อสำหรับโรงพยาบาล 800 บาท/กล่อง

ร่วมบริจาคได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี สถาบันอาศรมศิลป์ เลขบัญชี 235-078572-7

เงินบริจาคสามารถขอใบเสร็จนำไปลดหย่อนภาษีได้ 

การจัดทำและส่งมอบ Aerosol Box กล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย

Aerosol Box กล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย เกราะคุ้มภัยให้คุณหมอหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงของบุคลากรการแพทย์จากการติดเชื้อจากผู้ป่วย อุปกรณ์การแพทย์ ที่จะช่วยป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อจากผู้ป่วยสู่บุคลากรการแพทย์

อุปกรณ์สำหรับปฏิบัติการใส่ท่อช่วยหายใจให้ผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ที่ระบบหายใจล้มเหลว เป็นกล่องอะคริลิกใส ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เจาะช่องให้สอดมือเข้าไปได้ ใช้ครอบบริเวณศีรษะผู้ป่วย โดยแพทย์ พยาบาล สามารถสอดมือเข้าไปในช่องเพื่อทำหัตถการใส่ท่อช่วยหายใจให้ผู้ป่วยเป็นตัวช่วยในการแยกอากาศระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรการแพทย์ ป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อ COVID-19 จากผู้ป่วยสู่แพทย์ พยาบาล ช่วยเพิ่มความมั่นใจขณะปฏิบัติงาน

จัดทำAerosol Box กล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย และส่งมอบให้กับโรงพยาบาล ครั้งที่ 2

6 พฤษภาคม 2563

คณะทำงานได้ดำเนินการจัดทำ Aerosol Box กล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย ป้องกันการกระเด็นของสารคัดหลั่งตอนใส่และถอดท่อหายใจผู้ป่วย โดยจัดส่งแล้ว ทั้งสิ้น 32 กล่อง ให้แก่โรงพยาบาลที่มีความต้องการ ดังนี้
โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร จังหวัดชัยนาท จำนวน 5 กล่อง
โรงพยาบาลรัษฎา จังหวัดตรัง จำนวน 1 กล่อง
โรงพยาบาลพุนพิน จังหวัดสุราษฯ จำนวน 10 กล่อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาบายศรี จังหวัดจันทบุรี จำนวน 11 กล่อง และประกอบกล่องจาก SCG จำนวน5กล่อง รวมทั้งหมด16กล่อง

ส่งมอบ Aerosol Box กล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจายป้องกันสารคัดหลั่งจากเชื้อไวรัสโควิดให้กับโรงพยาบาล

1 เมษายน 2563

ส่งมอบ 2 กล่องแรกให้กับโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ณ จังหวัด กาญจนบุรี จำนวน 2 กล่อง โดยมีนายณัฐพล ตะโกใหญ่ สาธารณะสุขจังหวัดกาญจนบุรี เป็นผู้รับมอบ

จัดทำตัวอย่าง Aerosol Box กล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย

30 มีนาคม 2563

ทีมโมเดล สถาบันอาศรมศิลป์เพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือทีมแพทย์ โดยได้จัดทำตัวอย่างAerosol Box กล่องป้องกันเชื้อฟุ้งกระจาย อุปกรณ์การแพทย์ ที่จะช่วยป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อจากผู้ป่วยสู่บุคลากรการแพทย์

ความคืบหน้าในการบริจาคของให้ชุมชนที่เดือดร้อน

ใจดีสู้โควิด19 : บริจาคของให้ชุมชนที่เดือดร้อน ครั้งที่ 1

คณะทำงานได้ดำเนินการจัดซื้ออาหารแห้งจากชุมชนเกษตรกรและชาวประมงที่ประสบปัญหาขาดช่องทางจำหน่ายสินค้าจากมาตรการล็อคดาวน์ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ จากสระบุรี จำนวน 3,000 กิโลกรัม อาหารทะเลแห้งจากชุมชนหาดเจ้าสำราญ 453 กิโลกรัม ไข่เค็มจากตลาดน้ำตลิ่งชัน จำนวน 5,680 ฟอง และได้จัดส่งถึงมือชุมชนที่เดือดร้อนรอบแรกแล้วจำนวน 12 ชุมชน รวมทั้งสิ้น 602 ครัวเรือน ใน 7 จังหวัด รายละเอียดดังนี้
– กรุงเทพมหานคร 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนท่าวัง ชุมชนบ้านครัวเหนือ ชุมชนบ้านครัวตะวันตก ชุมชนตลิ่งชัน
– สมุทรปราการ 1 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนตาก๊ก
– นครปฐม 1 ชุมชน ได้แก่ บ้านเอื้ออาทร 1,2
– นนทบุรี 2 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบังทอง หมู่6 และหมู่9
– นครนายก 1 ชุมชน ได้แก่ มัสยิดดารุ้ลอิสลาม+ชุมชน หมู่7
– สุพรรณบุรี 1 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนเขาพระอู่ทอง
– ประจวบคีรีขันธ์ 1 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนในเขตหัวหิน
รวมถึงได้ส่งมอบกระถางผักสวนครัวที่สถาบันอาศรมศิลป์ได้ดำเนินการเพาะขยายพันธุ์ขึ้นให้ชาวชุมชนนำไปดูแลต่อ เพื่อการพึ่งพาตนเองและสร้างความมั่นคงทางอาหาร

ใจดีสู้โควิด19 : บริจาคของให้ชุมชนที่เดือดร้อน ครั้งที่ 2

สรุปยอดบริจาคกองทุน “ใจดีสู้COVID” ณ. วันที่ 7 พค. จำนวน 2,083,193 บาท และได้รับของบริจาค ข้าวกล้องอินทรีย์จากแพทย์วิถีธรรม จำนวน 400 กิโลกรัม และเส้นหมี่ตราม้าทองจากบริษัท เส้นหมี่เมืองเพชร จำกัด จำนวน 1,850 กิโลกรัม
.
ในการดำเนินการรอบที่ 2
ได้ดำเนินการจัดซื้อข้าวสารอาหารแห้ง และสินค้าจากชุมชนที่ประสบปัญหาขาดช่องทางในการจัดจำหน่าย และจัดส่งให้แก่ชุมชนที่เดือดร้อน ใน 7 จังหวัด จำนวน 18 ชุมชน จำนวนกว่า 2,000 ครัวเรือน ในวันที่ 13-14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
.
สรุปค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปแล้ว 985,043 บาท คงเหลือเงินในกองทุน 1,098,150บาท เพื่อนำไปช่วยเหลือชุมชนในรอบต่อไป รวมถึงสนับสนุนการปรับตัวของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคงในระยะกลางและระยะยาวต่อไป

ยอดเงินบริจาค เงินคงเหลือ และรายนามผู้บริจาค

สรุปยอดบริจาคกองทุนใจดีสู้COVID” . วันที่ 5 พค. จำนวน 2,081,393 บาท มีค่าใช้จ่ายข้าวสารอาหารแห้งสำหรับชุมชนที่เดือดร้อนในระยะแรก จำนวน 257,389 บาท คงเหลือเงินในกองทุน1,824,004 บาท โดยมีรายนามชื่อผู้บริจาค และรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้

รายงานผลการดำเนินงาน ใจดีสู้โควิด

คณะทำงานกองทุน “ใจดีสู้COVID” สถาบันอาศรมศิลป์ โรงพยาบาล และกลุ่มชุมชนผู้เดือดร้อน ขอขอบพระคุณและอนุโมทนามายังผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านที่ได้ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อคลี่คลายผลกระทบจากสถานการณ์COVID-2019 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาคณะทำงานได้จัดสรรเงินกองทุนเพื่อดำเนินงานตามเป้าหมาย ใน ๒ ด้าน ดังนี้

๑) ช่วยเหลือชุมชนที่ได้รับผลกระทบ

๑.๑) ระยะเร่งด่วน มอบข้าวสารอาหารแห้ง ให้กับชุมชนที่เดือดร้อนและกลุ่มผู้เปราะบาง โดยอุดหนุนสินค้าจากชุมชนที่ขาดช่องทางจำหน่ายสินค้า เนื่องมาจากมาตรการล็อคดาวน์
รวม ๔๓ ชุมชน ใน ๘ จังหวัด จำนวนกว่า ๔,๐๐๐ ครัวเรือน

๑.๒) ระยะกลางและระยะยาว สนับสนุนการปรับตัวของชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองในโครงการสวนครัวชุมชน จำนวน ๑๒ ชุมชน

๒) สนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์ให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลน จำนวน ๘ แห่ง

ทั้งนี้คณะทำงานได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน เพื่อแบ่งปันความสุข รอยยิ้ม ความเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างผู้บริจาค ผู้รับบริจาค อาศรมศิลป์และกัลยาณมิตร ที่ร่วมแรงร่วมใจผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน ตามลิ้งค์นี้

รายงานผลการดำเนินงาน ใจดีสู้โควิด รอบที่ 4

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ระบาดระลอกใหม่ มีการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผู้ติดเชื้อและผู้ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นจำนวนมาก จากการติดตามสถานการณ์ พบว่ามีชุมชนหลายแห่งที่ต้องรับภาระในการดูแลผู้ที่ต้องกักตัว ทั้งกักตัวในบ้านและกักตัวที่พื้นที่ส่วนกลางของชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่บุคคลเหล่านี้ประกอบอาชีพรับจ้าง ได้ค่าแรงเป็นรายวัน ทำให้ไม่มีรายได้มาซื้อข้าวสารอาหารแห้งและของใช้จำเป็น คณะทำงานกองทุนใจดีสู้โควิดจึงได้ดำเนินการช่วยเหลือข้าวสาร- อาหารแห้ง และของใช้ที่จำเป็นต่างๆ โดยให้ชุมชนร่วมกันคัดเลือกผู้ที่มีความเดือดร้อนและเสนอจำนวนที่ต้องการ โดยได้ส่งมอบข้าวสารอาหารแห้งและของใช้จำเป็นให้กับผู้เดือดร้อนในระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม – 22 มิถุนายน  2564 เพื่อลดการสัมผัสจากคนภายนอกและให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ

มีผลการดำเนินงานช่วยเหลือ 14 ชุมชน ใน 3 จังหวัด รวม 775 ครัวเรือน ดังนี้

  • การมอบข้าวสารอาหารแห้งช่วยเหลือชุมชน : ดำเนินการจัดซื้อข้าวสารและอาหารแห้งจากเครือข่ายชุมชนที่ขาดช่องทางการจำหน่าย นำไปสนับสนุนให้กับผู้ที่เดือดร้อน โดยประสานงานผ่านผู้นำชุมชนในการคัดเลือกผู้เดือดร้อน เช่น ผู้ที่ถูกกักตัว ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้ที่ขาดรายได้และเดือดร้อนมาก รวมทั้งพยายามให้เกิดการบริหารจัดการที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการคัดแยกและแจกจ่ายไปยังผู้ที่เดือดร้อน
  • การสนับสนุนเครื่องใช้อุปโภคในระหว่างการกักตัว 14 วัน : จากสถานการณ์ที่บางชุมชนมีผู้ติดเชื้อ ทำให้คนในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิด ต้องถูกกักตัว และแยกตัวออกจากครอบครัว จึงมีการสนับสนุนของใช้ส่วนตัวและอุปกรณ์จำเป็น เช่น แอลกอฮอร์ หน้ากากอนามัย ผ้าอ้อมผู้ใหญ่