The Khaung resort เดอะข่วง แม่ออน รีสอร์ท : รีสอร์ท บนวิถีล้านนา

ฐานการเรียนรู้ผ่านการทำงานจริงของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โดยเป็นการทำงานร่วมกับสถาปนิกของสถาบันอาศรมศิลป์ ซึ่งในโครงการประกอบด้วยร้านกาแฟ ร้านอาหาร โรงแรมขนาดเล็ก 20 ห้อง ศูนย์อบรมเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ สวนแมคคาเดเมีย และพื้นที่ปลูกผักปลอดสารพิษซึ่งส่งให้กับร้านดอยคำ

นักศึกษาได้เริ่มต้นจากการสำรวจที่ตั้ง และโครงการในลักษณะเดียวกัน ทั้งที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอื่น ๆ เพื่อศึกษาคู่แข่งทางการตลาด เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการออกแบบโครงการ และ Positioning ของโครงการ ซึ่งหมายรวมตั้งแต่ จุดเด่นของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย อัตราค่าที่พัก ซึ่งจะส่งผลไปถึง บรรยากาศโดยรวมของโครงการ พื้นที่ใช้สอย และวัสดุที่ใช้ในโครงการ

เมื่อแลกเปลี่ยนจนตกผลึกว่า รีสอร์ทนี้ควรจะมีรากทางวัฒนธรรมเป็นจุดขาย นักศึกษาจึงเริ่มทำความเข้าใจถึงความเป็นพื้นถิ่นล้านนา ความหมาย คุณค่า และลักษณะทางกายภาพ ทั้งในระดับอาคาร และในระดับผัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อ “เดอะ ข่วง”

โดยโครงการนี้เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ของชั้นปีที่ 3 ซึ่งในท้ายภาคการศึกษาจบลงที่การออกแบบผังบริเวณ และบรรยากาศของอาคารในภาครวม

ส่วนในภาคการศึกษาที่ 2 นี้ เป็นการออกแบบในรายละเอียดของอาคารต่าง ๆ โดยนักศึกษาได้ร่วมกันออกแบบและนำเสนอให้กับคุณกาจ (กาศทิศา เปรมวิมล) และคุณนัน (นันทพร ตั้งบริบูรณ์สุข) ซึ่งเป็นลูกค้าที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ร่วมเรียนรู้ในโครงการนี้ และการส่งแบบก็ได้รับการตอบรับที่ดี

Not only have students learnt the value and the meaning of the Lanna Vernacular House of Thailand, but also have they experienced the role of an architect in the professional world; the success of the project derives from the combination of architect’s design ability, and his/her vision of the project. Within this work, students have responsibilities to work not only in a design process of all the buildings in the resort, and a site plan for the whole area, but also to develop programs in the resort to ensure resort’s financial stability.

To achieve this requirement, students, as a group of 2 – 3 students, visit numbers of successful sustainable project as case studies; as a whole class, visit the Lanna village to learn the meaning and value of the Lanna Vernacular House as reflected on space, form, and material of the houses, on – site survey the flora and fauna of the site, as well as visit the communities adjacent to the site, last but not least, learn to do a feasibility study for the project.

Without all the collaborations among of the clients, professional architects, financial consultants, Lanna cultural experts, studio advisors, and the students; the success of the project would not have been possible. We, all, have learnt that developing a good relationship with all the people we have met all along the process, as well as realizing the importance of the interrelationship among people, community, and nature is a charm and a – must of the profession.