Holisticlearningconference2018 Tobin Hart (3)

สถาบันอาศรมศิลป์ สถาบันการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมเพื่อรับใช้สังคม ร่วมกับ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานประชุมวิชาการประจำปี งานระพีเสวนาและจิตตปัญญาศึกษา ในหัวข้อ“การเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” (Holistic Learning for Thriving to be Wholesome) รวมผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ ร่วมนำเสนอประสบการณ์ ผ่านเวทีเสวนาและวงสนทนาย่อย ยืนยัน “ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” คือ ทางออกของยุค Disruption โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 100 คน ที่สภาคริสตจักรแห่งประเทศไทย  กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆนี้

“การเสวนาครั้งนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องใหม่ในแวดวงของการศึกษา
หากแต่มีความเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เป็นยุค Disruption
ซึ่งเทคโนโลยีโดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์กำลังมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ
จึงท้าทายความสามารถ สมรรถนะ และสติปัญญาของมนุษย์ในยุคนี้
ที่ต้องเปิดเพดานบินใหม่ และเติมสมรรถนะใหม่ที่จำเป็นอย่างทันท่วงที
ทำให้เกิดการฝึกเรียนรู้แบบย้อนศร คือ กลับไปขยายศักยภาพภายในที่ซ่อนเร้นอยู่
ให้ได้ฉายแววออกมา ทำในสิ่งที่เคยคิดว่ายาก ให้สำเร็จอย่างรวดเร็ว
จึงทำให้เกิดแนวทางการเรียนรู้จากภายในขึ้น
เพื่อเติมเต็มหรือขยายสมรรถนะทั้งทางด้านความมั่นคงของจิตใจ
และด้านการสร้างสรรค์ความรู้ความคิดชุดใหม่ๆ” 

 รศ. ประภาภัทร นิยม อธิการบดี สถาบันอาศรมศิลป์ 
กล่าวถึง ความสำคัญของการเรียนรู้เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ในยุค Disruption

prapapat niyom

รศ.ประภาภัทร นิยม

ทั้งนี้ การเรียนรู้เช่นนี้อาจเรียกชื่อเป็นหลายอย่าง ตามแนวทางของผู้ที่ริเริ่มขึ้น เช่น การรู้ด้วยจิตสำนึกใหม่ การเรียนรู้ด้วยจิตวิญญาณ การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ หรือการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวม (Holistic Learning) ที่ค่อนข้างเป็นที่รู้จักในนานาประเทศ

ในขณะที่ รศ.นพ. ชัชวาลย์  ศิลปะกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า

“งานในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกันของเครือข่าย
คือ สถาบันอาศรมศิลป์ และศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งผู้รู้ นักวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ หลากหลายแห่ง เพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนการเรียนรู้แนวนี้ให้มั่นคงและส่งต่อไปในสู่ระดับนานาชาติต่อไป โดยมีการนำเสนอผลงานการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ที่เป็นรูปธรรม
ไม่ว่าจะเป็น การศึกษาและการจัดการเรียนการสอน การเยียวยาและสาธารณสุข 
สังคมและชุมชน  จิตวิญญาณและจิตสำนึกใหม่  ซึ่งทำให้เราเห็นว่ามนุษย์เรานั้น
ล้วนมีศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน”

รศ.นพ. ชัชวาลย์ ศิลปะกิจ

รศ.นพ. ชัชวาลย์ ศิลปะกิจ

ภายในงาน มีผู้ทรงคุณวุฒิจากสหรัฐอเมริกา อิสราเอล ญี่ปุ่น  และไทย ที่มานำเสนอประสบการณ์การเรียนรู้ แนวคิด แนวปฏิบัติ ที่แต่ละท่านได้ศึกษามา อาทิ  ดร. โทบิน ฮาร์ท (Tobin Hart, PhD) ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย State University of West Georgia และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้จิตสำนึก นำเสนอในประเด็นสังคมและชุมชน ในหัวข้อ Worldview and world Presence ดร.อะลิซาเบ็ธ บีเวน (Elizabeth Beaven, PhD) ประธานหลักสูตรและผู้บริหารระดับสูงของสถาบัน การศึกษาองค์รวมแห่งแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Integral Studies) ผู้รับผิดชอบด้าน Integral teacher education นำเสนอประเด็นการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน ในหัวข้อ The School as a Place of Healing  ในขณะที่ นพ. นิมรอด เชียนแมน (Nimrod Sheinman,N.D.) ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกสติแห่งอิสราเอล (Israel Center for Mindfulness in Education) และเป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำงานร่วมกับผู้ป่วยโรคมะเร็งและการบำบัดโรคด้วยโยคะ นำเสนอในหัวข้อ Mindfulness in Education : Insights, Stories & Outcomes What programs may forget and what we need to remember

Tobin Hart, PhD

Nimrod Sheinman,N.D.

Elizabeth Beaven, PhD

นอกจากนี้ ยังมีผลงานการเรียนรู้อย่างเป็นองค์รวมจากนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิอื่นๆ อีกมากมาย ผู้สนใจสามารถติดตามชมเทปบันทึกภาพการประชุมดังกล่าวและฟังปาฐกถาบางส่วนย้อนหลัง ได้ที่เว็บไซด์ของสถาบันอาศรมศิลป์ และศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล  ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม เป็นต้นไป

Prof.Megumi Shibuya

Prof.William Greene, Ph.D. 

ประมวล เพ็งจันทร์

อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์